วัดมหาวนาราม

         วัดมหาวนารามหรือที่ชาวอุบลนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “วัดป่าใหญ่”  เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัด
          พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง สร้างเมื่อปี พ.ศ.2530 พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา (เจ้าอาวาสวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ (วัดมหาวนาราม) ได้พาลูกศิษย์และศิษยานุศิษย์  สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี 10 ศอก สร้างลงรักปิดทองด้วยพุทธศิลปะที่งดงาม เพื่อเป็นองค์แทนสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างสำเร็จเมื่อ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (เดือนเมษายน) เป็นวันเฉลิมฉลองพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เป็นประจำทุกปี  พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงองค์ศักดิ์สิทธิ์  เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง  มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3.10 เมตร  สูงประมาณ  5.00 เมตร  ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทอง

ตำนานการสร้างพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงอีกนัยหนึ่ง
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง  ได้มีตำนานการก่อสร้างบอกเล่าขานกันต่อมาหลายอย่าง  โดยอีกนัยหนึ่งว่า ขณะที่ก่อสร้างอยู่นั้น  ก็ได้มีฝนตกฟ้าร้องอยู่ตลอดเวลา  ใกล้จะแล้วเสร็จอยู่แล้วเพราะเหลือแต่การตกแต่งให้สวยงามเท่านั้น  พอถึงตอนดึกก็ได้มีแสงสว่างเต็มบริเวณวัดไปหมดและสูงขึ้นสู่อากาศ  ผู้คนต่างก็ตื่นตกใจและมาดูก็ไม่เห็นมีอะไร  ต่างก็กลับสู่บ้านเรือนของตน  พอรุ่งเช้าก็ปรากฏว่าพระพุทธรูปที่สร้างยังไม่เสร็จนั้นก็ได้สำเร็จเรียบร้อยสวยงามเป็นอย่างยิ่ง  พอเห็นเป็นอย่างนั้นชาวบ้านต่างก็พูดว่าเทวดามาสร้าง  พระอินทร์แปลงร่างลงมาสร้างแปลงร่างลงมาเป็นตาผ้าขาวมาสร้างจึงได้สวยงามอย่างนี้  ถ้าเป็ฯคนธรรมดามาสร้างจะไม่สวยงามได้เพียงนี้แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่าพระอินทร์แปลงร่างลงมาสร้างเสริม  รูปร่างหน้าตาของพระพุทธรูปองค์นี้จึงได้สวยงดงามยิ่งนัก  เหตุนั้นจึงได้ขนานนามว่า  “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” และต่อมาเรียกว่าพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง  และก็ได้มีความเชื่อกันมาตลอดจนตราบเท่าทุกวันนี้
      วัดมหาวนารามตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี บนถนนสรรพสิทธิ์ ตัดกับถนนหลวง เยื้องกับโรงพยาบาล สรรพสิทธิ์ประสงค์



อุบลราชธานี  อยู่ห่างไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของศาลากลางจังหวัด (หรือทุ่งศรีเมือง)   ประมาณ 1 กิโลเมตร  เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง นามว่า พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง

Written by : โครงการวิจัยรูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาฯ

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลบางส่วนของงานวิจัยรูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:กระบวนการเปลี่ยนแปลง “เส้นทางบุญ “สู่” เส้นทางธรรม หากท่านใดมีความประสงค์จะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยสามารถติดต่อได้.

Join Me On: Facebook | Twitter | Google Plus :: ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ! ::

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น