สร้างครั้งแรกโดยพญาหัวเมือง 5 คน คือ 1.พญาจุลณีพรหมทัต 2.พญาอินทปัฐนคร 3.พญานันทเสน4.พญาสุวรรณภิงคาร 5.พญาคำแดง ร่วมกันสร้างพระธาตุพนมบรรจุอุรังคธาตุก่อนการทำสังคายนาครั้งที่ 1 ในบันทึกกล่าวว่าพระมหากัสสปพร้อมทั้งพระอรหันต์ 500 รูป นำพระอุรังคธาตุจากชมพูทวีปมาบรรจุไว้ที่อาณาจักรศรีโคตรบอง(นครพนม)พระเทพรัตนโมลี“มีความเห็นว่าสร้างพระธาตุพนมยุคแรกเมื่อพระพุทธเจ้าเข้าสู่นิพพานแล้วราวไม่เกิน ปรินิพพานได้ 2 เดือน เพราะทำปฐมสังคายนาเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วได้ 3 เดือน”(พระเทพรัตนโมลี:2522.1)และในตำนานอุรังคธาตุปรากฏข้อความเกี่ยวกับเหตุการณ์พระพุทธเจ้าปรินิพพานมีกษัตริย์มัลลราชเป็นธุระจัดการในเรื่องถวายพระเพลิงพระบรมศพ และบรมสรีระของพระพุทธเจ้าไม่ไหม้ จนกระทั่งมามหากัสสปมาถึงงานพระศพ พระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าได้เสด็จจากหีบทองมาประดิษฐานอยู่ที่ฝ่ามือเบื้องขวาของพระมหากัสสปะอัครสาวก หลังจากนั้นพระบรมสรีระจึงไหม้เอง หลังจากพระเพลิงดับแล้วปรากฏพระบรมสารีริกธาตุ 2 ส่วนคือ 1.ส่วนที่ไม่ไหม้ 2.ส่วนที่ไหม้ สำหรับส่วนที่ไม่ไหม้ยังเป็นปกติอยู่เหมือนเดิมนั้นปรากฏดังนี้ 1.พระอุรังคธาตุ(ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่พระธาตุพนม) 2.พระบรมธาตุกระโบงหัว(ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่พรหมโลก) 3.พระธาตุแข้วหมากแง(เขี้ยวแก้ว)(ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์) 4.พระธาตุกระดูกด้ามมีด(รากขวัญ)(ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่นาคพิภพ) ส่วนพระธาตุที่ไหม้ย่อยยับมี 3 ขนาด คือ 1.ขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วกวาง(ถั่วแตก) 2.ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหัก 3.ขนาดเท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด พระบรมสารีริกธาตุที่ไหม้ย่อยยับนี้ กษัตริย์อชาตศัตรูนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำสัตตปัณคูหา ส่วนกษัริย์นครอื่นๆต่างได้รับส่วนแบ่งนำไปประดิษฐานไว้ในนครของตน สำหรับอุรังคธาตุนั้น พระมหากัสสปะได้นำมาประดิษฐานไว้ที่ดอยกปณคีรีเมืองศรีโคตรบุรี(นครพนม) ตามคำสั่งของพระพุทธเจ้าดังข้อความว่า“ดูรากัสสป ตถาคตนิพพานไปแล้วเธอจงนำเอาอุรังคธาตุตถาคตไว้ที่ภูกำพร้านี้”(ตำนานอุรังคธาตุ:30-31:2551)คำว่า กปณคีรีในตำนานอุรังคธาตุเป็นภาษาบาลี แปลเป็นภาษาไทยว่า “ภูกำพร้า”กปณ แปลว่ากำพร้า คำว่าคีรี แปลว่าภูเขา ซึ่งเป็นภูเขาไม่สูง อยู่ในเมืองศรีโคตบูร และคำว่าโคตบูร มาจากชื่อโคตรของพระพุทธเจ้าว่า“โคตมะ”คำว่าบูรแปลว่าเมือง โดยอาศัยนิมิตรหมายที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรม1คืนที่ดอยกปณคีรีเสด็จมาพร้อมด้วยพระอานนท์ จึงตั้งชื่อเมืองเพื่อเป็นศิริมงคลว่าศรีโคตบูร เจ้าเมืองแห่งนี้พระนามว่าพญาศรีโคตบูรเป็นผู้มีบทบาทในการสนทนาและทำบุญถวายอาหารแด่พระพุทธเจ้า ยิ่งไปกว่านั้นที่กปณคีรีแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ประกอบด้วย พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป ที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว โดยพระอรหันต์เป็นผู้นำมาประดิษฐาน และก็ถือว่าเป็นประเพณีที่พระอรหันต์ทั้งหลายจะต้องนำพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มาประดิษฐานอยู่ที่ดอยกปณคีรีแห่งนี้(ตำนานอุรังคธาตุ:15-16:2551) ดังนั้นพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจึงถูกแบ่งไปในที่ต่างๆสอดคล้องกับพระไตรปิฎกคัมภีร์ปฐมภูมิของพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงเหตุการณ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าและการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุดังนี้ “พระมหาโคดมชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จดับขันธปรินิพพานที่กรุงกุสินารา พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ (สุตตันตปิฎก ขุททกนิกายพุทธวงศ์ :33:1-18:726)
วัดพระธาตุพนม
Posted by prinkooo
Posted on 09:42
with No comments
สร้างครั้งแรกโดยพญาหัวเมือง 5 คน คือ 1.พญาจุลณีพรหมทัต 2.พญาอินทปัฐนคร 3.พญานันทเสน4.พญาสุวรรณภิงคาร 5.พญาคำแดง ร่วมกันสร้างพระธาตุพนมบรรจุอุรังคธาตุก่อนการทำสังคายนาครั้งที่ 1 ในบันทึกกล่าวว่าพระมหากัสสปพร้อมทั้งพระอรหันต์ 500 รูป นำพระอุรังคธาตุจากชมพูทวีปมาบรรจุไว้ที่อาณาจักรศรีโคตรบอง(นครพนม)พระเทพรัตนโมลี“มีความเห็นว่าสร้างพระธาตุพนมยุคแรกเมื่อพระพุทธเจ้าเข้าสู่นิพพานแล้วราวไม่เกิน ปรินิพพานได้ 2 เดือน เพราะทำปฐมสังคายนาเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วได้ 3 เดือน”(พระเทพรัตนโมลี:2522.1)และในตำนานอุรังคธาตุปรากฏข้อความเกี่ยวกับเหตุการณ์พระพุทธเจ้าปรินิพพานมีกษัตริย์มัลลราชเป็นธุระจัดการในเรื่องถวายพระเพลิงพระบรมศพ และบรมสรีระของพระพุทธเจ้าไม่ไหม้ จนกระทั่งมามหากัสสปมาถึงงานพระศพ พระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าได้เสด็จจากหีบทองมาประดิษฐานอยู่ที่ฝ่ามือเบื้องขวาของพระมหากัสสปะอัครสาวก หลังจากนั้นพระบรมสรีระจึงไหม้เอง หลังจากพระเพลิงดับแล้วปรากฏพระบรมสารีริกธาตุ 2 ส่วนคือ 1.ส่วนที่ไม่ไหม้ 2.ส่วนที่ไหม้ สำหรับส่วนที่ไม่ไหม้ยังเป็นปกติอยู่เหมือนเดิมนั้นปรากฏดังนี้ 1.พระอุรังคธาตุ(ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่พระธาตุพนม) 2.พระบรมธาตุกระโบงหัว(ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่พรหมโลก) 3.พระธาตุแข้วหมากแง(เขี้ยวแก้ว)(ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์) 4.พระธาตุกระดูกด้ามมีด(รากขวัญ)(ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่นาคพิภพ) ส่วนพระธาตุที่ไหม้ย่อยยับมี 3 ขนาด คือ 1.ขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วกวาง(ถั่วแตก) 2.ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหัก 3.ขนาดเท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด พระบรมสารีริกธาตุที่ไหม้ย่อยยับนี้ กษัตริย์อชาตศัตรูนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำสัตตปัณคูหา ส่วนกษัริย์นครอื่นๆต่างได้รับส่วนแบ่งนำไปประดิษฐานไว้ในนครของตน สำหรับอุรังคธาตุนั้น พระมหากัสสปะได้นำมาประดิษฐานไว้ที่ดอยกปณคีรีเมืองศรีโคตรบุรี(นครพนม) ตามคำสั่งของพระพุทธเจ้าดังข้อความว่า“ดูรากัสสป ตถาคตนิพพานไปแล้วเธอจงนำเอาอุรังคธาตุตถาคตไว้ที่ภูกำพร้านี้”(ตำนานอุรังคธาตุ:30-31:2551)คำว่า กปณคีรีในตำนานอุรังคธาตุเป็นภาษาบาลี แปลเป็นภาษาไทยว่า “ภูกำพร้า”กปณ แปลว่ากำพร้า คำว่าคีรี แปลว่าภูเขา ซึ่งเป็นภูเขาไม่สูง อยู่ในเมืองศรีโคตบูร และคำว่าโคตบูร มาจากชื่อโคตรของพระพุทธเจ้าว่า“โคตมะ”คำว่าบูรแปลว่าเมือง โดยอาศัยนิมิตรหมายที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรม1คืนที่ดอยกปณคีรีเสด็จมาพร้อมด้วยพระอานนท์ จึงตั้งชื่อเมืองเพื่อเป็นศิริมงคลว่าศรีโคตบูร เจ้าเมืองแห่งนี้พระนามว่าพญาศรีโคตบูรเป็นผู้มีบทบาทในการสนทนาและทำบุญถวายอาหารแด่พระพุทธเจ้า ยิ่งไปกว่านั้นที่กปณคีรีแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ประกอบด้วย พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป ที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว โดยพระอรหันต์เป็นผู้นำมาประดิษฐาน และก็ถือว่าเป็นประเพณีที่พระอรหันต์ทั้งหลายจะต้องนำพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มาประดิษฐานอยู่ที่ดอยกปณคีรีแห่งนี้(ตำนานอุรังคธาตุ:15-16:2551) ดังนั้นพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าจึงถูกแบ่งไปในที่ต่างๆสอดคล้องกับพระไตรปิฎกคัมภีร์ปฐมภูมิของพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงเหตุการณ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าและการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุดังนี้ “พระมหาโคดมชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จดับขันธปรินิพพานที่กรุงกุสินารา พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ (สุตตันตปิฎก ขุททกนิกายพุทธวงศ์ :33:1-18:726)
Written by : โครงการวิจัยรูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาฯ
เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลบางส่วนของงานวิจัยรูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:กระบวนการเปลี่ยนแปลง “เส้นทางบุญ “สู่” เส้นทางธรรม หากท่านใดมีความประสงค์จะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยสามารถติดต่อได้.
Join Me On: Facebook | Twitter | Google Plus :: ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ! ::
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น