รหัสโครงการ : สัญญาเลขที่ RDG5550018
ชื่อโครงการ : รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ : กระบวนการเปลี่ยนแปลง “เส้นทางบุญ” สู่ “เส้นทางธรรม”
The Forms and the Processes of Buddhism-based Tourism
Management in Northeastern Thailand: the Process of Changing
Merit Routes to Dhamma Routes.
ชื่อนักวิจัย : ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม , ดร.แสวง นิลนามะ, พระมหาเกรียงศักดิ์
อินฺทปญฺโญ
ระยะเวลาโครงการ : พฤษภาคม 2555 – 30 เมษายน 2556
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อ (1)เพื่อศึกษารูปแบบ กิจกรรม อัตลักษณ์ และกระบวนการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2)เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้และการสื่อสารคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากเส้นทางบุญสู่เส้นทางธรรม (3)เพื่อศึกษาเส้นทางและประเมินทรัพยากรการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (4) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยวิธีวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากหนังสือประวัติวัด เอกสารแผ่นพับ จิตรกรรมฝาผนัง การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 300 ชุด แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าอาวาส พระเถระและผู้เกี่ยวข้องภายในวัดจำนวน 30 ชุด/รูป ประชุมเสวนาวิชาการมีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน การประชุมกลุ่มย่อยพระสงฆ์และชุมชนจำนวนกว่า 20 รูป/คน ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้
จากวัดกลุ่มตัวอย่าง 30 วัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา พบว่าเส้นทางการท่องเที่ยวมี 2 รูปแบบ 3 เส้นทาง ดังนี้ รูปแบบที่ 1) เส้นทางบุญ ซึ่งประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือ เส้นทางตำนานองค์พระธาตุและเส้นทางอภิวาทพระพุทธรูปคู่บ้านพระอริยสงฆ์คู่เมือง รูปแบบที่ 2) เส้นทางธรรม คือ เส้นทางรุ่งเรืองในพุทธธรรม แต่ละเส้นทางมีอัตลักษณ์และกระบวนการท่องเที่ยว ดังนี้
1) เส้นทางตำนานองค์พระธาตุ มีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเป็นแหล่งดึงดูด ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดเป้าหมายในการเดินทางกราบไหว้แสวงบุญ มีทั้งหมด 10 พระธาตุ
2) เส้นทางอภิวาทพระพุทธรูปคู่บ้านพระอริยสงฆ์คู่เมือง มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และพระอริยสงฆ์เป็นแหล่งดึงดูด ซึ่งนักท่องเที่ยวมีความเชื่อว่าไหว้พระพุทธรูปและทำบุญกับพระอริยสงฆ์ได้บุญมาก ได้ชื่อว่าเดินตามรอยพระอริยสงฆ์ และยังมีรูปแบบการปฏิบัติธรรมที่ยังสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้มีทั้งหมด 10 วัด
3) เส้นทางรุ่งเรืองในพุทธธรรม วัตถุประสงค์ของการไปคือเพื่อปฏิบัติธรรม หวังเพิ่มบุญ สั่งสมความสงบ แสวงหาความจริงของชีวิต ลดความวุ่นวาย หวังการบรรลุธรรม ปฏิบัติตามแนวทางที่พระอริยสงฆ์ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง มีทั้งหมด 10 วัด
จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากเส้นทางบุญสู่เส้นทางธรรม พบว่าเส้นทางท่องเที่ยว 3 เส้นทาง สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบท่องเที่ยวได้ เส้นทางบุญสามารถเปลี่ยนเป็นเส้นทางธรรมได้ ในทำนองเดียวกันเส้นทางธรรมสามารถเปลี่ยนกลับเป็นเส้นทางบุญได้ เมื่อมีปัจจัยเข้ามากระตุ้น เช่น เส้นทางการไหว้พระธาตุและพระพุทธรูปมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้ขาดความสงบทำให้เริ่มมีการจัดการแบ่งพื้นที่ทำบุญกับพื้นที่ปฏิบัติธรรมให้เห็น
ส่วนเส้นทางปฏิบัติธรรมและเส้นทางไหว้พระอริยสงฆ์ซึ่งมีความเงียบสงบ เดิมเคยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาทำบุญและปฏิบัติธรรมจำนวนมากครั้งที่พระอริยสงฆ์ยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้เส้นทางทั้งสองเส้นนี้ มีการผสมผสานกันสลับไปสลับมา อันเนื่องจากกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและกิจกรรมทางประเพณีทำให้เกิดเส้นทางบุญสู่เส้นทางธรรมและจากแบบสอบถามพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนมากเป็นสุภาพสตรี สถานภาพโสด อายุเฉลี่ย 21-30 ปี การศึกษาส่วนใหญ่ปริญญาตรี
เดินทางท่องเที่ยวเป็นคณะ ทราบข้อมูลจากญาติและเพื่อน ให้ความสนใจในการไหว้พระธาตุเป็นส่วนมาก นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นชาย สถานภาพโสดอายุเฉลี่ย 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มาท่องเที่ยวกับครอบครัว โดยบริษัทนำเที่ยว เคยมาเมืองไทยมากกว่า 2 ครั้ง ทราบข้อมูลจากแหล่งท่องเที่ยวจากแผ่นพับ เหตุผลในการเดินทางไปเยี่ยมชมวัดคือชมความงามของวัดและพุทธศิลป์ จากแบบสอบถามเจ้าอาวาสและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวพบว่าผู้ดูแลจัดการท่องเที่ยวภายในวัด มีอายุมากกว่า 60 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีหน้าที่จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเช่นการไหว้พระ การฝึกสอนสมาธิ
การศึกษาเส้นทางและประเมินทรัพยากรการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่าวัดกลุ่มตำนานองค์พระธาตุและและกลุ่มพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีความพร้อมในทางกายภาพมากที่สุด วัดกลุ่มพระอริยสงฆ์และวัดกลุ่มปฏิบัติธรรมมีความพร้อมทางกายภาพระดับกลางของในส่วน ศาสนสถานรูปนั้นแบบของพระธาตุมีลักษณะคล้ายคลึงกันกระจายกันอยู่ทั่วภูมิภาคส่วนใหญ่จำลองแบบจากพระธาตุพนม ศาสนวัตถุคือพระพุทธรูปปางมารวิชัยมีชื่อเสียงในความศักด์สิทธิ์ วัดพระอริยสงฆ์ส่วนใหญ่นิยมสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฏฐบริขาร ในขณะที่วัดปฏิบัติธรรมมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ บางท้องถิ่นชุมชนเป็นผู้ก่อตั้งชมรมในวัดให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพและสุขภาพ มีรูปแบบการสื่อธรรมผ่านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ปติมากรรมหรือสื่อพุทธธรรมและคติธรรมตามต้นไม้ ยิ่งไปกว่านั้น วัดเหล่านี้มีส่วนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมแรงงานในท้องถิ่น ชุมชนมีส่วนร่วมกำหนดแผนการจัดงาน,ร่วมจัดงาน,ร่วมในการจัดเก็บรายได้ของวัด บางวัดมีความขัดแย้งกับกรรมการวัดในเรื่องทรัพย์สินของวัด
จากการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่าพระสงฆ์มีการตื่นตัวและปรับปรุงวัดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เกิดการสร้างงาน การพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัด ในขณะเดียวกันภาระของพระสงฆ์ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นรบกวนการปฏิบัติธรรมและบางวัดยังไม่มีการแบ่งพื้นที่ระหว่างนักท่องเที่ยวและที่พักพระสงฆ์แม้ว่าการท่องเที่ยวจะนำมาซึ่งรายได้จำนวนมากถึงกระนั้นวัดก็ได้กระจายรายได้ไปสู่ชุมชนในรูปแบบการบำเพ็ญประโยชน์ เช่นมอบทุนการศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่าชุมชนท้องถิ่นไม่แสดงอัตลักษณ์ทางท่องเที่ยวยกเว้นงานเทศกาลประจำปี
ชื่อโครงการ : รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ : กระบวนการเปลี่ยนแปลง “เส้นทางบุญ” สู่ “เส้นทางธรรม”
The Forms and the Processes of Buddhism-based Tourism
Management in Northeastern Thailand: the Process of Changing
Merit Routes to Dhamma Routes.
ชื่อนักวิจัย : ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม , ดร.แสวง นิลนามะ, พระมหาเกรียงศักดิ์
อินฺทปญฺโญ
ระยะเวลาโครงการ : พฤษภาคม 2555 – 30 เมษายน 2556
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อ (1)เพื่อศึกษารูปแบบ กิจกรรม อัตลักษณ์ และกระบวนการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2)เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้และการสื่อสารคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากเส้นทางบุญสู่เส้นทางธรรม (3)เพื่อศึกษาเส้นทางและประเมินทรัพยากรการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (4) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยวิธีวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาจากหนังสือประวัติวัด เอกสารแผ่นพับ จิตรกรรมฝาผนัง การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 300 ชุด แบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าอาวาส พระเถระและผู้เกี่ยวข้องภายในวัดจำนวน 30 ชุด/รูป ประชุมเสวนาวิชาการมีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน การประชุมกลุ่มย่อยพระสงฆ์และชุมชนจำนวนกว่า 20 รูป/คน ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้
จากวัดกลุ่มตัวอย่าง 30 วัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา พบว่าเส้นทางการท่องเที่ยวมี 2 รูปแบบ 3 เส้นทาง ดังนี้ รูปแบบที่ 1) เส้นทางบุญ ซึ่งประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือ เส้นทางตำนานองค์พระธาตุและเส้นทางอภิวาทพระพุทธรูปคู่บ้านพระอริยสงฆ์คู่เมือง รูปแบบที่ 2) เส้นทางธรรม คือ เส้นทางรุ่งเรืองในพุทธธรรม แต่ละเส้นทางมีอัตลักษณ์และกระบวนการท่องเที่ยว ดังนี้
1) เส้นทางตำนานองค์พระธาตุ มีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเป็นแหล่งดึงดูด ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดเป้าหมายในการเดินทางกราบไหว้แสวงบุญ มีทั้งหมด 10 พระธาตุ
2) เส้นทางอภิวาทพระพุทธรูปคู่บ้านพระอริยสงฆ์คู่เมือง มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และพระอริยสงฆ์เป็นแหล่งดึงดูด ซึ่งนักท่องเที่ยวมีความเชื่อว่าไหว้พระพุทธรูปและทำบุญกับพระอริยสงฆ์ได้บุญมาก ได้ชื่อว่าเดินตามรอยพระอริยสงฆ์ และยังมีรูปแบบการปฏิบัติธรรมที่ยังสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้มีทั้งหมด 10 วัด
3) เส้นทางรุ่งเรืองในพุทธธรรม วัตถุประสงค์ของการไปคือเพื่อปฏิบัติธรรม หวังเพิ่มบุญ สั่งสมความสงบ แสวงหาความจริงของชีวิต ลดความวุ่นวาย หวังการบรรลุธรรม ปฏิบัติตามแนวทางที่พระอริยสงฆ์ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง มีทั้งหมด 10 วัด
จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากเส้นทางบุญสู่เส้นทางธรรม พบว่าเส้นทางท่องเที่ยว 3 เส้นทาง สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบท่องเที่ยวได้ เส้นทางบุญสามารถเปลี่ยนเป็นเส้นทางธรรมได้ ในทำนองเดียวกันเส้นทางธรรมสามารถเปลี่ยนกลับเป็นเส้นทางบุญได้ เมื่อมีปัจจัยเข้ามากระตุ้น เช่น เส้นทางการไหว้พระธาตุและพระพุทธรูปมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้ขาดความสงบทำให้เริ่มมีการจัดการแบ่งพื้นที่ทำบุญกับพื้นที่ปฏิบัติธรรมให้เห็น
ส่วนเส้นทางปฏิบัติธรรมและเส้นทางไหว้พระอริยสงฆ์ซึ่งมีความเงียบสงบ เดิมเคยมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาทำบุญและปฏิบัติธรรมจำนวนมากครั้งที่พระอริยสงฆ์ยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้เส้นทางทั้งสองเส้นนี้ มีการผสมผสานกันสลับไปสลับมา อันเนื่องจากกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและกิจกรรมทางประเพณีทำให้เกิดเส้นทางบุญสู่เส้นทางธรรมและจากแบบสอบถามพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนมากเป็นสุภาพสตรี สถานภาพโสด อายุเฉลี่ย 21-30 ปี การศึกษาส่วนใหญ่ปริญญาตรี
เดินทางท่องเที่ยวเป็นคณะ ทราบข้อมูลจากญาติและเพื่อน ให้ความสนใจในการไหว้พระธาตุเป็นส่วนมาก นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่เป็นชาย สถานภาพโสดอายุเฉลี่ย 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มาท่องเที่ยวกับครอบครัว โดยบริษัทนำเที่ยว เคยมาเมืองไทยมากกว่า 2 ครั้ง ทราบข้อมูลจากแหล่งท่องเที่ยวจากแผ่นพับ เหตุผลในการเดินทางไปเยี่ยมชมวัดคือชมความงามของวัดและพุทธศิลป์ จากแบบสอบถามเจ้าอาวาสและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวพบว่าผู้ดูแลจัดการท่องเที่ยวภายในวัด มีอายุมากกว่า 60 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีหน้าที่จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเช่นการไหว้พระ การฝึกสอนสมาธิ
การศึกษาเส้นทางและประเมินทรัพยากรการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่าวัดกลุ่มตำนานองค์พระธาตุและและกลุ่มพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีความพร้อมในทางกายภาพมากที่สุด วัดกลุ่มพระอริยสงฆ์และวัดกลุ่มปฏิบัติธรรมมีความพร้อมทางกายภาพระดับกลางของในส่วน ศาสนสถานรูปนั้นแบบของพระธาตุมีลักษณะคล้ายคลึงกันกระจายกันอยู่ทั่วภูมิภาคส่วนใหญ่จำลองแบบจากพระธาตุพนม ศาสนวัตถุคือพระพุทธรูปปางมารวิชัยมีชื่อเสียงในความศักด์สิทธิ์ วัดพระอริยสงฆ์ส่วนใหญ่นิยมสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฏฐบริขาร ในขณะที่วัดปฏิบัติธรรมมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ บางท้องถิ่นชุมชนเป็นผู้ก่อตั้งชมรมในวัดให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพและสุขภาพ มีรูปแบบการสื่อธรรมผ่านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ปติมากรรมหรือสื่อพุทธธรรมและคติธรรมตามต้นไม้ ยิ่งไปกว่านั้น วัดเหล่านี้มีส่วนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมแรงงานในท้องถิ่น ชุมชนมีส่วนร่วมกำหนดแผนการจัดงาน,ร่วมจัดงาน,ร่วมในการจัดเก็บรายได้ของวัด บางวัดมีความขัดแย้งกับกรรมการวัดในเรื่องทรัพย์สินของวัด
จากการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่าพระสงฆ์มีการตื่นตัวและปรับปรุงวัดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เกิดการสร้างงาน การพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัด ในขณะเดียวกันภาระของพระสงฆ์ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นรบกวนการปฏิบัติธรรมและบางวัดยังไม่มีการแบ่งพื้นที่ระหว่างนักท่องเที่ยวและที่พักพระสงฆ์แม้ว่าการท่องเที่ยวจะนำมาซึ่งรายได้จำนวนมากถึงกระนั้นวัดก็ได้กระจายรายได้ไปสู่ชุมชนในรูปแบบการบำเพ็ญประโยชน์ เช่นมอบทุนการศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่าชุมชนท้องถิ่นไม่แสดงอัตลักษณ์ทางท่องเที่ยวยกเว้นงานเทศกาลประจำปี